ภาษีป้าย
ภาษีป้าย : ป้ายที่ต้องชำระ คือป้ายเพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ อื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณา การค้า หรือ กิจกรรมอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณา ไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วย อักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
-
ให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบ แสดงรายการภาษีที่กองคลัง เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ภายในเดือน มกราคม - มีนาคม ของทุกปีและต้อง ชำระภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การประเมิน
-
ผู้ใดติดตั้งป้ายอันต้องเสียภาษีหลังเดือน มีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลง แก้ไข พื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ อันเป็นสาเหตุให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงภาษีป้าย ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
-
ในกรณีที่มีการโอนป้ายให้ผู้รับโอนแจ้ง การรับ โอนเป็นหนังสือต่อเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับโอน
อัตราภาษีป้าย
-
ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท : 500 ตร.ซม.
-
ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรภาษาต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย อื่นให้คิดอัตรา 20 บาท : 500 ตร.ซม.
-
ป้ายต่อไปนี้ให้คิดอัตรา 40 บาท : 500 ตร.ซม. (ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมี ภาพ หรือ เครื่องหมายใดๆ หรือไม่ ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมด อยู่ใต้หรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ)
-
ป้ายตาม ข้อ 1, 2, 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ ของป้ายแล้ว มีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่า ป้ายละ 200 บาท ให้เสีย ภาษี ป้ายละ 200 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไปเสียภาษี
-
ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์
-
บัตรประจำประชาชน
-
ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา
ระยะเวลาชำระภาษีป้าย : มกราคม - มีนาคม ของทุกปี
-
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในกำหนด หรือยื่นแบบไม่ถูกต้อง เสียเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสีย
-
ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสีย
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาษีบำรุงท้องที่่
ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน
การยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
-
ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่เขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ไปยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (แบบ ภ.บ.ท.5) ที่กองคลัง เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ภายในเดือน มกราคมของปีแรกที่มีการตีราคากลางที่ดิน
-
กรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือมีการ เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้อง ยื่นแบบแสดง รายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ มีการเปลี่ยนแปลง
หลักฐานที่ต้องนำไปเสียภาษี
-
สำเนาโฉนดที่ดิน นส.3 หรือ นส.3.ก
-
บัตรประจำประชาชน
-
ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา
ระยะเวลาชำระภาษีป้าย : มกราคม - เมษายน ของทุกปี
-
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายกำหนด หรือยื่นแบบไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสีย
-
ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนที่ต้องเสีย
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน : ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ที่ให้เช่า ทำการค้า ที่ไว้สินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ พ่อแม่ หรือผู้อื่นอาศัย และที่ใช้กิจการอื่นๆ ในปีที่ล่วงมาแล้ว
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ขอรับแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์สิน (แบบ ภ.ร.ด.2) กรอกรายละเอียดและ ยื่นต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ เพื่อประเมินภาษี ภายในเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี ที่กองคลัง เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
การชำระภาษี : เมื่อได้รับแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ร.ด.8) จากเทศบาล แล้ว ต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยจะไปชำระด้วยตนเอง หรือให้บุคคลอื่นนำไปชำระแทนก็ได้ หรือจะชำระโดยการส่งธนาณัติตั๋วแลกเงิน หรือเช็คที่ธนาคารรับรองโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สั่งจ่ายในนามเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเทศบาลจะถือวันส่งทางไปรษณีย์เป็นวันชำระภาษี
หลักฐานที่ต้องนำไปเสียภาษี :
-
สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 หรือ นส.3.ก (ถ้ามี)
-
บัตรประจำประชาชน
-
สำเนาทะเบียนบ้าน
-
ทะเบียนการค้า, ทะเบียนพาณิชย์, ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
-
ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา
-
หนังสือมอบอำนาจกรณีให้ผู้อื่นทำการแทน
การอุทธรณ์ภาษี : กรณีที่ผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินของเจ้าหน้าที่ ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งการประเมิน
ระยะเวลาชำระภาษีป้าย : มกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี
-
ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
-
ผู้ใดไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้
-
ชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของภาษีค้างชำระ
-
เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือน เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้างชำระ
-
เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน เสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของภาษีค้างชำระ
-
เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีค้างชำระ