คำแถลงนโยบาย
ของ
ว่าที่ร้อยตรี สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยา
แถลงต่อสภาเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2555
ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
คณะกรรมการเลือกตั้ง ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 56/2555 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่าที่ ร้อยตรีสมทรง สรรพโกศลกุล เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งกรณีแทนตำแหน่งที่ว่างในวันที่ 22 เมษายน 2555
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2490 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 มาตรา 48 ทศ วรรคแรกบัญญัติไว้ว่า “ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาเทศบาลเรียกเรียกประชุมสภาเทศบาลเพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี”
มาตรา 48 ทศ วรรคสอง กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลหรือสภาเทศบาลถูกยุบตามมาตรา 24 หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยไว้ให้เนินช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกเทศมนตรีจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ เมื่อได้มีการเลือกประธานสภาเทศบาลแล้วให้ประธานสภาเทศบาลเรียกประชุมสภาเพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเลือกประธานสภาเทศบาล
บัดนี้ คณะผู้บริหารเทศบาล ได้กำหนดนโยบายการบริหารงานของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคลอบคลุมถึงแนวนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน อำนาจและหน้าที่ของเทศบาลนครตามพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พุทธศักราช 2552 ข้าพเจ้า ว่าที่ร้อยตรี สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรี ในฐานะผู้นำการบริหารซึ่งอาสาประชาชน เข้ามาบริหารงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในครั้งนี้ พร้อมทีมงาน ขอแถลงนโยบายต่อที่ประชุมสภาเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบาย ที่มุ่งมั่นจะสร้างเสถียรภาพการบริหาร ความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยขอประกาศเจตนารมณ์และขอตั้งปฏิณาณว่า จะดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเดิมเป็นราชธานีที่มีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานติดต่อกันมาถึง 517 ปี และจะยึดมั่นการทำงานในหลักการตามระบอบประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วมสำคัญสูงสุดในการบริหารจัดการงานบริหารของเทศบาลให้นำไปสู่ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ให้สมกับคำว่า “อยุธยา เมืองน่าอยู่ คู่คุณธรรม” โดยจะคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชน และความพึงพอใจของประชาชนเป็นที่ตั้งบนพื้นฐานการยึดถือ “คุณธรรม” นำหน้าการบริหารและการเมือง
คำแถลงนโยบายของคณะผู้บริหารเทศบาลฉบับนี้ เป็นนโยบายการบริหารงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปี ซึ่งจะเป็นหลักการทางการบริหารงานเทศบาลที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลางสืบต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระการดำลงตำแหน่งตามกฎหมาย และจะนำหลักบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้ทุกรูปแบบ เพื่อปรับสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีมูลค่าเพิ่มอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คำแถลงนโยบายนี้จะเป็นพื้นฐานแห่งการมีเจตนาร่วมกันระหว่างผู้บริหารและสภาเทศบาลที่จะร่วมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน ต่อไปในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก การพัฒนาเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่เกิดเหตุสถานการณ์มหาอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2554 อันนำความเสียหายสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนซึ่งคณะผู้บริหารเทศบาล ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การเปลี่ยนแปลงการบริหารการแก้ไขปัญหาอุทกภัย สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมอย่างบูรณาการ การแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนร่วมเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาเทศบาลอย่างยั่งยืนสืบไป โดยมีนโยบายที่สำคัญคือ
1.1 การเสริมสร้างการบริหารและบริการให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เพื่อให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการบริหารอย่างแท้จริง เช่น
-
E - auction (การประมูล)
-
กระจายจุดบริการไปหาประชาชน (ตลาด/ศูนย์การค้า/การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่)
-
การประสานงานกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน
-
ลดขั้นตอนแบะปรับวิธีการปฏิบัติงาน
1.2 จะเสริมสร้างทัศนคติการใช้บริการประชาชนให้เกิดความพึ่งพอใจ โดยเร่งสร้างทัศนคติการปฏิบัติงานให้กับพนักงานและลูกจ้างเทศบาล จะเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติในการทำงานโดยเฉพาะให้บริการให้ทันที
1.3 จะเสริมสร้างความน่าอยู่ให้อยุธยาเป็นเมืองน่าอยู่ เต็มรูปแบบ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาจะต้องมีชีวิตที่มีมาตรฐาน มีความสุข มีน้ำใจ มีความเอื้ออาทรและอยู่ในเมืองสะอาด ปราศจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษ ปลอดจากยาเสพติด
1.4 จะเสริมสร้างเด็กในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ให้พร้อมในการแข่งขันในระดับภูมิภาค รองรับประชาคมอาเซียน เด็กเรียนจะต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วนตรเอง และให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
1.5 จะเสริมสร้างความรักและความอบอุ่นของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้เป็นฐานที่สำคัญของชีวิตและการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนและครอบครัว
1.6 จะเสริมสร้างโอกาสของคนในเมืองให้มีอาชีพ เพื่อให้ทุกคนมีงานทำและมีรายได้ที่เพียงพอเหมาะสมที่จะเลี้ยงดูครอบครัว และมีความสุขในการทำมาหากิน เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาจะเป็นเมืองแห่งโอกาส และเมืองในฝันที่ทุกคนอยากมาอยู่ อยากมาเที่ยว และมาทำงาน
2. นโยบายการพัฒนาและการบริการงานเทศบาล คณะผู้บริหารงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จะเป็นผู้นำการบริหารองค์กรให้เป็นท้องถิ่นต้นแบบ ด้วยยุทธศาสตร์การบริหารงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นนโยบายที่จะดำเนินการในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ดังนี้
2.1 จะเสริมสร้างและพัฒนาระบบบริหารและระบบงานบริการของเทศบาลให้เป็นระบบธรรมาธิบาล (good governance) โดยถือประโยชน์สุข และความพึงพอใจของประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด และประชาชนจะต้องเป็นศูนย์กลางในพัฒนาทุกๆ ด้าน จะปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารรูปแบบต่างๆ เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จะปรับปรุงระบบการบริหารงานให้มีความพร้อมและกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน จะเสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา และจะดำเนินการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักการ
-
ความโปร่งใส จะเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เปิดเผยให้องค์กรตรวจสอบต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามาช่วยเสนอแนะในการปรับปรุงบริหารด้านต่างๆ
-
การมีส่วนร่วม จะเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปมีส่วนรับรู้ และเสนอความเห็นในรูปแบบต่างๆ ในการพิจารณากำหนดนโยบาย หรือการแก้ไขปัญหาทุกข์สุขของประชาชนโดยตรง
-
ความรับผิดชอบ จะตัดสินใจอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมาบนพื้นฐานประโยชน์ของประชาชนสูงสุดจะเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างและจะยอมรับผลดี - ผลเสียจากการตัดสินใจในทุกๆ เรื่อง
-
ความคุ้มค่า จะกำกับดูแล ควบคุมการบริหารงานของเทศบาลฯ ให้คุ้มค่ากับเงินภาษีอากรของประชาชน โดยยึดประโยชน์สูง ประสิทธิภาพสูง จะใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างรอบคอบระมัดระวังเป็นที่สุด
2.2 จะเสริมสร้างเมืองอยุธยาให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในด้านอาชีพ การท่องเที่ยว และสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะเสริมสร้างอยุธยาเป็นเมืองน่าอยู่ (Living ayuthaya) จะส่งเสริมการพัฒนาให้ประชาชนอยู่ดี มีสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้อยู่ในสังคมที่มีสุข ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับในเรื่อง
-
ความสะอาด (จำนวนรถ/จำนวนคนเก็บขยะ/วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย)
-
การจราจร (ถนน/สัญญาณไฟจราจร และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจราจร)
-
สุขภาพอนามัย (ศูนย์บริการสาธารณสุข/แพทย์/พยาบาล)
-
การศึกษา (โรงเรียน/จำนวนครู/อุปกรณ์การศึกษา)
-
การมีงานทำหรืออาชีพและเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
-
สวนสาธารณะ (จำนวนต้นไม้/การบำรุงดูแลและรักษา)
2.3 จะเสริมสร้างระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะเรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทั้งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการประสานสอดคล้องกันทั้งในด้านการบริหารและการบริการ โดยถือเอาประโยชน์และความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ จะดำเนินการบริหารจัดการปัญหาของเมือง เช่น การจราจรหรือกิจการสาธารณูปโภค โดยเฉพาะกิจการประปายันเป็นกิจการเทศพาณิชที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ระบบไฟฟ้าสาธารณะ ระบบบำบัดน้ำเสีย ถนน เส้นทางสัญจรของประชาชน และตลาด
2.4 จะเสริมสร้างศักยภาพของเด็ก/ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นหลักในการเสริมสร้างสังคมที่ดี มีคุณภาพ เป็นพลังในการผลักดันให้เด็ก/เยาวชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถเข้าแข่งขันในระดับประเทศได้
-
เด็ก ครอบครัว และชุมชน เป็นรากฐานของสังคม
-
เด็ก จะต้องมีการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ
-
ครอบครัว จะต้องมีความอบอุ่น มีความสุข เป็นที่มั่นคงที่มีความสุขสุดท้ายของชีวิตมนุษย์
-
ชุมชน จะต้องมีความเข้มแข็ง ไม่มียาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กัน
มาตรการปราบปราม สนับสนุนชุมชนให้มีความผูกพัน ร่วมมือดูแลทุกข์สุขของทุกคน เอื้อเฟื้อ เอื้ออาทร มีความผูกพันเป็นญาติที่เป็นรากฐานสำคัญที่สุดของสังคมไทย จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคม พัฒนาคน และพัฒนาเด็กเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
2.5 จะเสริมสร้างอาชีพและโอกาสให้คนที่จะพัฒนารายได้ สร้างอาชีพหรือทำมาหากินอย่างมีความสุข มีความหวังมีความฝัน โดยจะสนับสนุนการจัดตั้งคณะทำงานประสานงานการเพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน สร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตัวเอง และพัฒนาโครงสร้างที่จะก่อรายได้อย่างยั่งยืน ขจัดอุปสรรคปัญหาที่เป็นเครื่องกีดขวางนโยบายนี้ให้สิ้นไปอย่างสิ้นเชิง จะสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ประชาชนมีความสามารถประกอบอาชีพได้อย่างปกติสุข
2.6 จะเสริมสร้างและพัฒนาเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาให้เป็นเมืองแห่งอนาคต โดยการจัดรูปแบบการบริหารให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง มีวิสัยทัศน์ ที่จะทำให้เทศบาลเป็นเมืองน่าอยู่ และจะมองไกลไปในอนาคต โดยจะศึกษาถึงรูปแบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย และกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทศบาล ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง
2.7 จะเสริมสร้างการบริหารงานเทศบาลให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดยจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ เพื่อสิ่งที่ดีกว่า รวดเร็วกว่าและมีคุณภาพกว่า ทั้งในด้านระบบบริหาร การศึกษา การบริหารทุกรูปแบบจะเชื่อมโยงระบบบริหารงานเทศบาลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับภาคธุรกิจและภาคประชาชน
การกำหนดนโยบายตามที่กล่าวมา ได้วางอยู่บนพื้นฐานข้อมูลตามความเป็นจริง ทั้งทางด้านการจัดสรรเงินงบประมาณ ความต่อเนื่องกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา ตลอดจนการวิเคราะห์ที่สภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม การปกครอง และสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพื้นที่ของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อันมีขอบเขตและองค์ประกอบที่มีขีดจำกัดในหลายประการ เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว คณะผู้บริหารของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วยแผนพัฒนาเทศบาล แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่างๆ ในสังกัดเทศบาล และแผนการตามเทศบัญญัติที่จะใช้เป็นคู่มือและแนวทางการทำงานต่อไป
คณะผู้บริหารเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ขอให้ความเชื่อมั่นแก่สภาเทศบาลอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของคณะผู้บริหารเทศบาลว่า จะบริหารงานในกิจการของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารงานของเทศบาลให้มีความเจริญก้าวหน้า สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้ โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
ว่าที่ ร้อยตรี
( สมทรง สรรพโกศลกุล )
นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยา
กองช่างสุขาภิบาล มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานธุรการ ดังนี้
งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ
-
งานสารบรรณ
-
งานดูแลรักษาจัดเตรียมประสานงานและให้บริการเรื่องสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ติดต่อ และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ
-
งานประสานงานเกี่ยวกับการประชุมสภาเทศบาล คณะเทศมนตรี และพนักงานเทศบาล
-
งานตรวจสอบแสดงรายการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญของทางราชการ
-
งานรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ
-
งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา และผู้ทำคุณประโยชน์
-
งานจัดทำคำสั่งและประกาศ
-
งานรับเรื่องราวร้องทุกข์และร้องเรียน
-
งานพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงาน ลูกจ้าง และการให้บำเหน็จความชอบ กรณีพิเศษ
-
งานการลาพักผ่อนประจำปีและการลาอื่นๆ
-
งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
งานแบบแผนและก่อสร้าง
-
งานออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับอาคาร โรงแรม สถานประกอบการ ฯลฯ
-
งานออกแบบก่อสร้างระบบการระบายทั่วไป เช่น ท่อ ทาง รางระบายน้ำฝนหรือน้ำทิ้ง
-
งานควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียของโรงบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ สามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้งก่อนปล่อยน้ำทิ้ง
-
งานวิจัยและประเมินผล การจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดน้ำเสียให้บริการข้อมูลสถิติที่จำเป็นต้องใช้ในการวางแผน การศึกษา วิเคราะห์ การเจริญเติมโตของประชากรจำนวนผู้ขออนุญาตต่อท่อเชื่อม รวมทั้งการติดตามผลและการประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในฝ่ายกำจัดน้ำเสีย
-
งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
งานควบคุมและตรวจสอบการบำบัดน้ำเสีย
-
งานรับน้ำเสียจากอาคาร สถานประกอบการต่างๆ ในเขตควบคุมการบำบัดน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย
-
งานตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของอาคาร สถานประกอบการ มิให้ปล่อยทำลายสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ เช่น ทะเล คู คลอง ที่สาธารณะ รวมทั้งการปล่อยน้ำทิ้งลงท่อสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาต
-
งานรับเรื่องราวคำร้องขออนุญาตต่อท่อเชื่อมน้ำเสียหรือนำทิ้ง การตรวจสอบเอกสารรวมทั้งการสำรวจทำผังแนวท่อและประมาณการจำนวนผู้ขออนุญาต
-
งานประเมินอัตราค่าธรรมเนียมและใบค่าอนุญาตขอต่อท่อเชื่อมน้ำเสีย-น้ำทิ้งรวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ขออนุญาตต่อท่อเชื่อม
งานวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
-
งานตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากโรงงานบำบัดน้ำเสียและแหล่งน้ำตามธรรมชาติแหล่งน้ำต่างๆ
-
ควบคุมการเดินคลอรีนหลังจากบำบัดน้ำเสียจากโรงบำบัดน้ำเสียในน้ำเสียจากแหล่งอื่นๆ
-
ควบคุมการใช้สารเคมีต่างๆ ในระบบบำบัดน้ำเสีย
-
การตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย
-
น้ำทิ้งจากสถานประกอบการของเอกชนในรายที่น่าสงสัยหรือประชาชนร้องขอ
-
งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
งานเครื่องจักรกลและซ่อมบำรุง มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานเครื่องจักรกลและซ่อมบำรุง งานแบบแผนและก่อสร้าง งานควบคุมและตรวจสอบการบำบัดน้ำเสียประกอบด้วย
-
งานปฏิบัติงานกระบวนการเดินเครื่องมือเครื่องจักรกล เครื่องจักรโรงงาน รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
-
งานซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
-
งานโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
-
งานควบคุมโรงงาน และห้องทดลอง
-
งานอาคารสถานที่
งานบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องยนต์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ บำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรกลอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการบำบัดน้ำเสีย
-
งานบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารสถานที่โรงบำบัดน้ำเสีย ท่อน้ำเสีย ท่อระบาย น้ำฝน ท่อระบายน้ำโสโครก และท่อน้ำทิ้ง
-
งานดูแลรักษาความสะอาดบ่อบำบัดน้ำเสีย
-
งานทำความสะอาด ล้างลอกท่อ รางระบายน้ำเสีย น้ำฝน หรือน้ำทิ้ง
-
งานตักขยะในบ่อสูญน้ำเสีย บ่อพักและบ่อดักไขมัน
-
งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
กองการประปา มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
ให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการควบคุม การผลิต และการจำหน่ายน้ำประปาการติดตั้งประปา การควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณรายได้ รายจ่าย การบัญชี พัสดุ การวางแผน ปรับปรุงในข้อบกพร่องต่างๆของการประปา และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
-
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านการให้บริการน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค และป้องกันอัคคีภัย
-
ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำด้วยความประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในท้องถิ่น
-
การบริหารงานบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
-
การบริหารงบประมาณประจำปีของกองการประปา
-
กำหนดนโยบายและแผนงานผลิตน้ำประปา การให้บริการประปาเทสบาลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
โดยแบ่งส่วนราชการภายในกองการประปา ออกเป็น
บริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานทั่วไปของกองการประปา โดยรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ดังนี้
งานธุรการ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
ควบคุมดูแลงานด้านสารบรรณ
-
งานการประชาสัมพันธ์ และรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการใช้น้ำประปา
-
งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของสถานที่ราชการ
-
งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และขอรับบำเหน็จบำนาญ
-
ควบคุมวันลาของพนักงานจ้าง/ลูกจ้าง
ฝ่ายผลิตและบริการ จัดแบ่งกลุ่มงานในการบริหารจัดการ ดังนี้
งานผลิต มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
งานวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
-
งานสูบกรองน้ำแรงสูง - แรงต่ำ งานกรองน้ำ จ่ายสารเคมี
-
งานบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้าที่ใช้ในกิจการประปา
-
งานตรวจแก้ไขแรงดันน้ำและระบายตะกอนในเส้นท่อน้ำประปา
-
งานเตรียมน้ำสำรองไว้เพื่อการดับเพลิง
งานจำหน่วยและบริการ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
งานสำรวจทำผังแนวท่องานบำรุงรักษาซ่อมแซมท่อน้ำประปา
-
งานติดต่อและติดตั้งมาตรวัดน้ำตลอดจนดำเนินการตามกฎหมายผู้ลักลอบใช้น้ำ
-
งานจ่ายน้ำประปาและจ่ายน้ำเพื่อช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย
-
งานตรวจรักษาท่อดับเพลิง
งานมาตรวัดน้ำ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
งานอ่านมาตรวัดน้ำและลงหน่วยน้ำ
-
งานตรวจสอบและทดลองความเที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำ
-
งานบำรุงรักษาและซ่อมแซมมาตรวัดน้ำ ตลอดจนการงดจ่ายน้ำประปา
-
งานทะเบียนมาตรวัดน้ำ
-
งานเขียนแบบ ออกแบบ ประมาณการ ระบบผลิต ระบบท่อจำหน่ายส่งน้ำ
-
งานควบคุมการติดตั้ง ดูแลรักษาระบบ ปรับปรุงระบบผลิต
-
ประสานงานการก่อสร้างระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบประปา
ฝ่ายการเงินและบัญชี จัดแบ่งกลุ่มงานในการบริการจัดการ ดังนี้
งานการเงินและบัญชี มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
งานทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการประปา
-
งานรับเงิน จ่ายเงิน ตรวจเงิน และเก็บรักษาเงินของกองการประปา
-
งานตรวจฎีกาเบิกเงินและจ่ายเงิน
-
งานจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีแยกประเภท และประมาณการรายรับ - รายจ่าย
งานจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
งานกรอกรายการในใบเสร็จรับเงินและจัดเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปา
-
งานจัดทำบัญชีประจำตัวผู้เก็บเงินและบัญชีรายตัวลูกหนี้
-
งานจัดทำงบบัญชีลูกหนี้ประจำเดือนและงบบัญชี
-
งานเร่งรัดติดตามหนี้ค้างชำระ
งานพัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
-
งานจัดหา จัดซื้อ และจัดจ้างพัสดุของกองการประปา
-
งานเบิก - จ่ายพัสดุ และลงบัญชีรับจ่ายพัสดุประจำวัน
-
งานควบคุมทะเบียนพัสดุและทรัพย์สินของกองการประปา